เครื่องดนตรีไทยแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
เครื่องตี
เครื่องตีเป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท คือ กรับ ระนาด ฆ้อง ขิม ฉาบ ฉิ่งและกลอง ซึ่งผมจะอธิบาย ระบาด กลองและฆ้อง
- ระนาด เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จัดเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องตี ประกอบด้วย ลูกระนาด ร้อยด้วยเชือก เรียกว่า "ผืน" แขวนไว้กับ ราง ซึ่งทำหน้าที่รองรับลูกระนาด (แขวนลอย ไม่ได้วางรายกับราง) และทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงด้วย ผู้เล่นจะใช้ ไม้ตี จำนวน 2 อัน สำหรับตีลูกระนาดให้เกิดเป็นท่วงทำนอง
ชนิดของระนาด
ระนาดของไทยนั้น มีด้วยกัน 4 ชนิด ดังนี้
1.
ระนาดเอก
ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า
“ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า
“ผืน”
ลูกระนาดนี้ทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า
“โขน” ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
ระดับเสียงของระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ยๆรองไว้ 4 มุมราง
ระดับเสียงของระนาดทุ้ม
[แก้ไข] ระนาดเอกเหล็ก หรือระนาดทอง
ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันว่าระนาดทอง ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์ลูกระนาดด้วยเหล็ก ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้
ระดับเสียงของระนาดเอกเหล็ก หรือระนาดทอง
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็กเป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน 16 หรือ 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ 6 ซมและลดหลั่นลงไปจนถึงลูกยอดซึ่งยาวประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ 20 ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบนประมาณ 26 ซมระนาด ทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี 2 อัน
สำหรับระนาดเอกทำไม้ตีเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำหัวไม้ตีให้แข็ง เมื่อตีจะมีเสียงดังเกรียวกราว เมื่อนำเข้าผสมวงจะเรียกว่า
“วงปี่พาทย์ไม้แข็ง” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐ์ไม้ตีให้อ่อนนุ่ม เมื่อตีจะเกิด เสียงนุ่มนวล เวลานำระนาดเอกที่ใช้ไม้ตีชนิดนี้มาผสมวง จะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้นวม”
ระดับเสียงของระนาดทุ้มเหล็ก
ส่วนประกอบของระนาด
ระนาดนั้นถือว่า เป็น เครื่องดนตรีไทย ในหมวดหมู่ ของเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องตี ซึ่ง ระนาด จะมีลูกระนาด เป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญ เพราะลูกระนาดนั้น จะเป็นต้นกำเนิด ของเสียง ส่วนประกอบของ ระนาด จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งได้แก่
รางระนาด
ส่วนนี้จะใช้สำหรับ เป็นที่ขึงผีน หน้าที่ของรางระนาดนั้น จะเปรียงเสมือนกล่อง ขยายเสียง ทำให้เกิด เสียงที่ไพเราะกังวาน ลักษณะของรางระนาด นั้น โดยทั่วไปแล้วนิยมทำ เป็นรูปโค้ง คล้ายๆ กับเรือ และจะมีฐานรองรับ เพื่อให้ระนาดตั้ง กับพื้นได้ ซึ่งส่วนที่รองรับจะอยู่ตรง กลางของส่วนโค้ง เรียกว่า เท้าระนาดเอก
ผีนระนาด
ส่วนของผีนระนาดก็คือ ส่วนที่ขึงอยู่บนราง ระนาด จะประกอบไปด้วยลูก ระนาด ที่ใช้เชือกร้อย แล้วขึงไว้กับรางระนาด โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบด้วยลูกระนาด จำนวนประมาณ 21 ลูก แต่บางครั้งก็อาจจะมี ลูกระนาด ถึง 22 ลูกก็ได้ในหนึ่งผีน ซึ่งจะเรียกลูกระนาด ที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า ลูกหลีก สำหรับระนาดที่มี 22 ลูกนั้น นิยมใช้สำหรับเล่น ในวงปี่พาทย์มอญ และในวงปี่พาทย์นางหงส์ โดยลูกระนาดที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของ ผู้เล่นระนาด จะเรียกว่า ลูกต้นหรือลูกทวน จะเป็นเสียงต่ำสุด
ไม้ตีระนาด
สำหรับไม้ตีระนาดนั้น นิยมทำมาจากไม้ไผ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. ส่วนความหนาของไม้ตีระนาดนั้น จะแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ ไม้นวม และไม้แข็ง
ลักษณะไม้ตีระนาดมีดังนี้
1. ไม้แข็ง ปลายไม้ระนาด พอกด้วยผ้าชุบน้ำรักจนแข็ง
2. ไม้นวม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันแล้วถักด้วยด้ายจนนุ่ม
3. ไม้ตีระนาดทุ้ม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่ม เพื่อตีให้เกิดเสียงทุ้ม
4. ไม้ตีระนาดเหล็ก ปลายไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะรูตรงกลาง แล้วเอาไม้เป็นด้ามสำหรับถือมีขนาดใหญ่กว่าไม้ตีระนาดเอกธรรมดา
5. ไม้ตีระนาดทุ้มเหล็ก ทำลักษณะเดียวกับไม้ตีฆ้องวง แต่ปลายไม้พันด้วยหนังดิบ เพื่อให้แข็งเวลาตี จะเกิดเสียงได้
(ระนาดเอก)
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องตีประเภททำทำนองที่ทำด้วยโลหะ หลอมกลึงเป็นลูกๆทรงกลม มีขนาดลดหลั่นกัน 16 ลูก แขวนอยู่บนร้านฆ้อง ซึ่งทำด้วยหวายดัดโค้งเป็นวงกลม ผู้ตีนั่งอยู่ในวงฆ้อง จับไม้ตีข้างละอัน ตีเป็นทำนองเพบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยสุโขทัยมาจนถึงทุกวันนี้ ๑ มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก เป็นหลักของวงปี่พาทย์จนถึงปัจจุบัน เดิมเรียก ฆ้องวง ต่อเมื่อเกิดฆ้องวงเล็กในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเรียกฆ้องที่มีอยู่เดิมว่า ฆ้องวงใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่กว่า ฆ้องวงใหญ่มีส่วนประกอบ ดังนี้
1. ร้านฆ้อง
-ร้านฆ้อง ทำด้วยหวายเป็นต้น 4 เส้น ดัดโค้ง เป็นวงกลม ใช้ 2 เส้นดัดเป็นโค้งเป็นวงนอก อีก 2 เส้นโค้งเป็นวงใน ยึดติดกับลูกมะฮวด
-ลูกมะหวด ทำด้วยไม้กลึงให้กลมเป็นลอนขนาบด้วย ลูกแก้ว หัวท้ายบากและปาดโค้งรับกับต้นหวายเป็นระยะตลอดทั้งวง
-โขนฆ้อง ทำด้วยไม้หนา มีลักษณะตอนกลางนูน เป็นสันเรียวแหลมเหมือนใบโพธิ์ ข้างปาดเรียวลง ยึดติดติดกับต้นหวายทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
-ไม้ค่ำล่าง เป็นไม้ลักษณะสี่เหลี่ยมทรงแบน ยึด ติดกับหวายคู่ล่างโดยรอบ ระยะห่างพอสมควร บางวงจะใช้แผ่นโลหะตอกตะปูคลุมอีกทีหนึ่ง
-ไม้ตะคู้ คือไม้ไผ่เล็กๆเจาะฝังเข้าไปในลูก มะหวด เพื่อกั้นสะพานหนู
-สะพานหนู เป็นเส้นลวดสอดโค้งเป็นวงใต้ไม้ตะคู้ เพื่อไว้ผูกหนังลูกฆ้อง ด้านในและด้านนอก
-ไม้ค้ำบน หรือ ไม้ถ่างฆ้อง เป็นไม้แผ่นบางๆปาดหัวท้ายเว้าตามเส้นหวาย เพื่อใช้ถ่างให้วงฆ้อง ให้อยู่ในสภาพเป็นวงสวยงาม ปกติลูกฆ้อง 4 ลูกจะ ใส่ไม้ถ่างฆ้อง 1 อัน ฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูก จึงมีไม้ถ่างฆ้องวงหนึ่ง 4 อัน ที่ต้นหวายทั้ง 4 ต้นจะมีหวายผ่าซีก 2 หรือ 3 เส้นประกบโดยรอบ เพื่อรองรับหนังผูกฆ้อง และเพื่อให้สวยงาม จะกลึงเป็นเม็ดติดไว้ที่ปลายต้นหวายทั้งสี่ต้น สำหรับสมัยโบราณจะกลึงเม็ดเป็นขา ติดอยู่ที่ใต้ไม้ถ่างล่างอีกทีหนึ่ง
วงฆ้องบางวงได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยการประกอบงา แกะลวดลายฝังงา หรือมุขที่โขน บางครั้งที่ลูกมะหวดประกอบงา หรือเป็นงาทั้งอัน หรือแกะลวดลาย ลงรักปิดทองสวยงาม
2.ลูกฆ้อง
ทำด้วยโลหะที่เรียกว่า ทองเหลือง หลอม ตี หรือกลึงเป็นลูกๆทรงกลม ด้านบนกลึงตรงกลางให้นูนเป็นปุ่มเรียกว่า ปุ่มฆ้อง สำหรับตีให้เกิดเสียง ด้าน ข้างกลึงเป็นขอบงุ้มลงเรียกว่า ฉัตร เพื่อให้เสียงดังกังวานยาวขึ้น ที่ฉัตรเจาะรู 4 รูสำหรับร้อยหนังเลียด ซึ่งทำด้วยหนังเส้นเล็ก ร้อยผ่านรูที่ฉัตร ไปผูกยังสะพานหนู วงหนึ่ง มี 16 ลูกลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละลูกจะติดตะกั่วผสมขี้ผึ้งใต้ปุ่มฆ้อง เพื่อให้ได้เสียง สูงต่ำเรียงตามลำดับ 16 เสียง ลูกที่มีเสียงต่ำสุดจะ เรียกว่า ลูกทวน และลูกที่มีเสียงสูงสุดจะเรียกว่า ลูกยอด
3.ไม้ตีฆ้อง
ก้านทำด้วยไม้ไผ่ เหลาให้กลมเล็ก ยาวพอประมาณ ไม้ที่ดีนิยมไม้ที่มี 5 ข้อขึ้นไปจนถึง 9 ข้อ หัวไม้ ทำด้วยหนังช้าง ตัดเป็นวงกลม ทุบปลายบานเป็นขอบ เล็กน้อย เพื่อให้นุ่มสำหรับตีลงที่ปุ่มฆ้องได้เสียงที่นุ่ม ไพเราะ ปัจจุบันหนังช้างหายาก จึงใช้ไม้ฆ้องที่หัวพัน ด้วยผ้า เคียนด้วยด้ายสีต่างๆด้วยวิธีกรรมที่ปราณีตสวยงาม เรียกว่า ไม้นวม เสียงจะนุ่มนวล แต่ไม่คมคายเท่าหนังช้าง เหมาะสำหรับไว้ฝึกซ้อม
ท่านั่ง
นั่งท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ อยู่กึ่งกลางในวงฆ้อง ลำตัวตรง
ท่าจับ
ด้วยการหมายมือจับไม้ตีข้างละอัน ให้ก้านไม้ตีพาดอยู่ในกลางร่องอุ้งมือ พร้อมกับใช้นิ้วกลาง นาง ก้อย จับก้านไม้ตีไว้ และใช้นิ้วหัวแม่มือแตะไว้ที่ด้านข้าง ปลายนิ้วชี้กดที่ด้านล่างของก้านไม้ตี โดยให้ปลายนิ้วชี้อยู่ชิดกับหัวไม้ตี ในลักษณะที่จะใช้ควบคุมเสียงของฆ้องใหญ่ และค่ำมือลงเมื่อพร้อมที่จะบรรเลง แขนทั้งสองอยู่ข้างลำตัว งอข้อศอกเป็นมุมฉากพองาม
หลักการตีฆ้องวงใหญ่
-- ต้องตีให้หน้าไม้ตั้งฉากกับลูกฆ้อง
-- ตีตรงกลางปุ่มให้เต็มปื้นไม้ตี
-- ใช้ข้อมือและกล้ามเนื้อแขนเป็นหลัก
-- ยกไม้ตีสูงพอสมควร (ประมาณ 5-6 นิ้วฟุต)
-- ขณะบรรเลงสามารถหมุนไม้ตีไปรอบๆ เพื่อไม้ตีไม่เสียรูปทรงจากหลักการตีดังกล่าว ก่อให้เกิดวิธีและเสียงของฆ้องอันเป็นพื้นฐานดังนี้
หลักการตีฆ้องวงใหญ่
1.ตีมือละลูกเป็นคู่แปด คือการตีด้วยมือซ้าย และมือขวาพร้อมกันเป็นคู่แปด และคู่สี่
2. ตีมือละหลายๆลูก คือการตีมือละหลายๆลูก อาจแบ่งมือซ้ายขวาเท่ากันหรือไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ท่วงทำนองเพลงเป็นหลัก โดยปรกติจะตีลงด้วยมือซ้าย หนึ่งครั้ง มือขวาสองครั้ง ถือเป็นมือเอกลักษณ์ของฆ้องวงใหญ่ อีกแบบหนึ่งจะตีโดยแบ่งมือเท่าๆกัน ในพยางค์ของเสียงที่ต่อเนื่องกัน ทั้งขึ้นและลง
3. ตีสะบัด คือการตีพยางค์มากกว่าเก็บ ซึ่งขึ้นอยู่ในหัวข้อการตีมือละ หลาย ๆ ลูก แต่วิธีสะบัดของฆ้องวงนั้น โดยมากจะเป็นการสะบัดขึ้นลง 3 พยางค์ 3 เสียง ถ้าขึ้นจะใช้ซ้ายหนึ่ง ขวาสอง ถ้าลงจะใช้ขวาหนึ่ง ซ้ายสอง และมือแรกห้ามเสียงเล็กน้อย ดังที่เรียกว่า ซ้ายปิด ขวาเปิด เป็นต้น
4. ตีกวาด คือการตีที่ลากหัวไม้ผ่านปุ่มฆ้องทุกลูก จากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย ซึ่งโดยปรกติ จะลากไม้ฆ้องให้หัวไม้กระทบบริเวณด้านข้างของปุ่มลูกฆ้อง ถ้าลากตรงกลางปุ่มจะทำให้สะดุด เสียงไม่เรียบ
5. ตีกรอ คือการตีสองมือสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและเร็ว ปรกติจะเอามือซ้ายลงก่อน และตีสลับให้สองมือมีอัตราและเสียงที่เท่ากัน
6. ตีไขว้ คือการตีที่มือข้างหนึ่งไขว้ข้ามมืออีกข้างหนึ่ง โดยมือทั้งสองมีลักษณะไขว้กัน อาจเอามือซ้าย ไขว้มือขวา หรืออาจเอามือขวาไขว้มือซ้ายก็ได้ โดยปกติจะใช้ตีในเพลงเดี่ยว ซึ่งจัดเป็นความสามารถของผู้ตี
7. ตีหนึบ หนับ หนอด โหน่ง เป็นการตีที่ประคบมือมือทั้งสอง คือการตีที่ใช้กล้ามเนื้อ กำลัง ตลอดจนน้ำหนักพอดี บางครั้งตีลงแล้วเปิดหัวไม้ทันที บางครั้งปิดหัวไม้เล็กน้อย โดยเฉพาะในเพลงเดี่ยวจะใช้วิธีการแบบนี้มาก
ข้อมูลจากhttp://www.banrakthai.com/index.php?step=viewproduct&catn=11&subn=3&pcode=rakthai024