วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ดนตรีไทย



 ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า


ประวัติความเป็นมาของ ดนตรีไทย

จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณา หาเหตุผลเกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะที่แตกต่างกันคือ

ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจาก อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจาก ประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับ ดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ

- เครื่องดีด

- เครื่องสี

- เครื่องตี

- เครื่องเป่า

ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ

- ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย

- สุษิระ คือ เครื่องเป่า

- อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ

- ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ

การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย

เครื่องดีด

เครื่องดีด

เครื่องดีดคือ เครื่องดนตรีไทยที่บรรเลงหรือเล่นด้วยการใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีด ดีดสาย ให้สั่นสะเทือนจึงเกิดเสียงขึ้น เครื่องดนตรีไทยประเภทนี้มีหลายชนิด แต่ที่นิยมเล่น กันแพร่หลาย ในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ชนิด คือ กระจับ พิณและจะเข้

    
        พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแบบหนึ่ง มีหลายชนิดแตกต่างตามท้องที่ ในภาคอีสานของประเทศไทย พิณอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ซุง" หรือ "เต่ง" จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 หรือ 4 สาย บรรเลงโดยการดีดด้วยวัสดุทีเป็นแผ่นบาง เช่นไม้ไผ่เหลา หรืออาจใช้ปิ้กกีตาร์ดีดก็ได้ สมัยก่อนจะเล่นเครื่องเดียวเพื่อเกี้ยวสาว ปัจจุบันมักใช้บรรเลงในวงดนตรีโปงลาง วงดนตรีลำซิ่ง หรือวงดนตรีลูกทุ่ง 
      
          ประเภทของพิณ 

               พิณสองสาย
                       พิณสองสาย หมายถึงพิณที่ใช้สายสองสาย

               พิณสามสาย
                      พิณสามสาย หมายถึงพิณที่ใช้สายสามสาย
               
               พิณสี่สาย
                      พิณสี่สาย หมายถึงพิณที่ใช้สายสี่สาย

         ส่วนประกอบของพิณ











 (พิณ)


จะเข้

จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวาลดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว ๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง ทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง) ไปพาดกับ "หย่อง" แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูก โต๊ะนี้ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น ระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้ จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ ทำเป็นสันหนาเรียกว่า "นม" ๑๑ นม วางเรียงไปตามแนวยาว เพื่อรองรับการกด จากนิ้วมือขณะบรรเลง นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป ทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ เวลาดีดจะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวา ส่วนมือซ้ายใช้กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ


ลักษณะ ของจะเข้

ส่วนประกอบของจะเข้
๑. ส่วนตัว
จะแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นส่วนหาง มีรูปทรงยาว ส่วนกว้างประมาณ ๑๑-๑๒ cm ความยาวประมาณ ๗๗ cm หนาประมาณ ๑๒ cm ตอนที่สองเป็นด้านหัว มีลักษณะเป็นกระพุ้งคล้ายใบพายลาดลงทั้ง ๒ ข้าง เพื่อเพิ่มความกังวานให้กับเสียง ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ยาวที่สุดประมาณ ๕๓ เซนติเมตร ภายในขุดเป็นโพรงตลอด โดยใช้วางยาวตามพื้นราบ
๒. เท้าหรือขาจะเข้ มี๕เท้า ติดตอนที่เป็นกระพุ้ง ๔ เท้า และติดตอนด้านปลายอีก ๑ เท้า เท้าทั้ง ๕ นี้ จะทำเป็นรูปใบบัวและลูกแก้วเพื่อความสวยงาม โดยที่มีความสูงจากพื้นประมาณ ๘.๕ cm

๓. ลูกบิด จะอยู่ส่วนด้านหัว สำหรับผูกสายเทียบเสียงตามความต้องการมี๓ อัน ซึ่งสอดทางด้านใน (ด้านคนดีด)๑ อัน และด้านนอกอีก ๒ อัน ลูกบิดแต่ละอันยาวประมาณ ๒๒ cm.

๔. หลัก สำหรับตรึงสาย ทำด้วยโลหะ เป็นหลักเตี้ยๆ มีขื่อกลางสำหรับผูกสาย ตั้งอยู่ตอนหัวของจะเข้

๕. โต๊ะรองสาย ทำด้วยโลหะทองเหลืองหรือทองขาว กว้างประมาณ ๔ cm. ยาวประมาณ ๘ cm. และสูงประมาณ ๒ cm. ความสูงของโต๊ะนี้มีความสูงไม่เท่ากัน โดยด้านที่ติดกับหลักตรึงสาย จะมีความสูงเท่ากับหลักตรึงสาย และตรงกลางของโต๊ะรองสายจะนูนขึ้นเล็กน้อย จะมีความสูงเท่ากับหลักตรึงสาย และตรงกลางของโต๊ะรองสายจะนูนขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อที่จะให้สายได้แนบกับโต๊ะได้อย่างสนิท

จะเข้ ๖. แหน คือ ผิวไม้ไผ่บางๆ เล็กๆที่มีความสำคัญกับเสียงของจะเข้หากวางไม่ถูกตำแหน่งเสียงจะเข้ก็จะไม่ได้เสียงที่ใสชัด ตำแหน่งที่วางแหนของจะเข้แต่ละตัวไม่เท่ากันต้องอาศัยการฟัง ปกติแหนนี้มักใช้รองรับสายเอกและสายทุ้ม ๑อัน และสายลวดอีก ๑ อัน

๗. นม ใช้สำหรับเป็นฐานรองสายเวลากดนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ มีทั้งหมด ๑๑ นม นมของจะเข้ด้านบนเรียกว่า “สาบ” จะต้องไม่ติดกับสายของจะเข้ นมที่อยู่ติดกับหย่องจะสูงประมาณ ๓.๕ cm. สำหรับนมอันสุดท้าย จะสูงประมาณ ๒ cm. ซึ่งโต๊ะรองสายสูงประมาณ ๒.๕-๓ cm.

๘. หย่อง มีสำหรับรองสายตอนปลาย โดยให้สายทั้ง ๓ สอดเข้าไปโดยทั่วไปหย่องจะทำด้วยกระดูกหรืองา

๙. รางไหม – ฝารางไหม รางไหมคือช่องที่เจาะตอนบนของส่วนหาง มีลักษณะเป็นช่องเพื่อให้สอดสายเข้าไปถึงลูกบิดได้ เรียกว่ารางไหม เจาะกว้างประมาณ ๓cm. ยาวประมาณ ๑๙ cm. และด้านบนมีกระดูก งาหรือไม้เหลามาปิดประกบเป็นฝารางไหมเพื่อความสวยงาม

๑๐. หย่องหรือซุ้ม คือส่วนที่สายจะต้องลอดผ่าน ก่อนนำไปผูกกับลูกบิด ตัวหย่องทำเป็นรูปซุ้ม สูงประมาณ ๘cm. กว้างประมาณ ๖ cm. ส่วนที่สายพาดลงไปจะบากเป็นซี่ๆ เพื่อแยกสายทั้ง ๓ ออกจากกัน

๑๑. สาย จะเข้จะมีอยู่ ๓ สาย เป็นสายไหม ๒ สาย และสายลวดอีก๑ สาย ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นเบ็ดตกปลามาแทนสายไหมเนื่องจากคุณสมบัติที่เหนียวขาดยากกว่าสายไหม

๑๒. ไม้ดีด ทำด้วยไม้ งาช้าง หรือกระดูกสัตว์ ทำเป็นแท่งกลมๆ ส่วนปลายเรียวเล็ก กว้างประมาณ ๑ cmยาวประมาณ ๕-๘cm ด้านบนผูกเชือกติดกับไม้ดีด เพื่อไว้พันกับนิ้วชี้มือขวาให้แน่น เวลาดีดจะได้ไม่หลุด ส่วนด้านปลายของไม้นั้นเหลาปลายให้เล็กเรียวมน เพื่อให้มีความคล่องในการดีด




เครื่องสี




เครื่องสี

เครื่องสีเป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ
1.ซอด้วง





ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก




2.ซอสามสาย



ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน - หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ - ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม - หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น





  



3.ซออู้




ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น -ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน - หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง




เครื่องตี

เครื่องดนตรีไทยแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า


เครื่องตี

        เครื่องตีเป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท คือ กรับ ระนาด ฆ้อง ขิม ฉาบ ฉิ่งและกลอง ซึ่งผมจะอธิบาย ระบาด กลองและฆ้อง
  1.   ระนาด เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จัดเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องตี ประกอบด้วย ลูกระนาด ร้อยด้วยเชือก เรียกว่า "ผืน" แขวนไว้กับ ราง ซึ่งทำหน้าที่รองรับลูกระนาด (แขวนลอย ไม่ได้วางรายกับราง) และทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงด้วย ผู้เล่นจะใช้ ไม้ตี จำนวน 2 อัน สำหรับตีลูกระนาดให้เกิดเป็นท่วงทำนอง
   ชนิดของระนาด
         ระนาดของไทยนั้น มีด้วยกัน 4 ชนิด ดังนี้

     1.ระนาดเอก
ภาพ:Ranadake_1.jpg

         ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า “ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า “ผืน”
         ลูกระนาดนี้ทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า “โขน” ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า

ภาพ:Ranadake_2.jpg
ระดับเสียงของระนาดเอก


 ระนาดทุ้ม

ภาพ:Ranadtom_1.jpg

         เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ยๆรองไว้ 4 มุมราง

ภาพ:Ranadtom_1.jpg
ระดับเสียงของระนาดทุ้ม


[แก้ไข] ระนาดเอกเหล็ก หรือระนาดทอง

ภาพ:Ranadtommuk_1.jpg

         ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันว่าระนาดทอง ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์ลูกระนาดด้วยเหล็ก ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้

ภาพ:Ranadtommuk_2.jpg
ระดับเสียงของระนาดเอกเหล็ก หรือระนาดทอง


ระนาดทุ้มเหล็ก

ภาพ:Ranad_tum_lek_2.jpg

         ระนาดทุ้มเหล็กเป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน 16 หรือ 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ 6 ซมและลดหลั่นลงไปจนถึงลูกยอดซึ่งยาวประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ 20 ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบนประมาณ 26 ซมระนาด ทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี 2 อัน
         สำหรับระนาดเอกทำไม้ตีเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำหัวไม้ตีให้แข็ง เมื่อตีจะมีเสียงดังเกรียวกราว เมื่อนำเข้าผสมวงจะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้แข็ง” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐ์ไม้ตีให้อ่อนนุ่ม เมื่อตีจะเกิด เสียงนุ่มนวล เวลานำระนาดเอกที่ใช้ไม้ตีชนิดนี้มาผสมวง จะเรียกว่า “วงปี่พาทย์ไม้นวม”
ภาพ:Ranad_tum_lek_1.jpg
ระดับเสียงของระนาดทุ้มเหล็ก


ส่วนประกอบของระนาด
         ระนาดนั้นถือว่า เป็น เครื่องดนตรีไทย ในหมวดหมู่ ของเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องตี ซึ่ง ระนาด จะมีลูกระนาด เป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญ เพราะลูกระนาดนั้น จะเป็นต้นกำเนิด ของเสียง ส่วนประกอบของ ระนาด จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งได้แก่

 รางระนาด

         ส่วนนี้จะใช้สำหรับ เป็นที่ขึงผีน หน้าที่ของรางระนาดนั้น จะเปรียงเสมือนกล่อง ขยายเสียง ทำให้เกิด เสียงที่ไพเราะกังวาน ลักษณะของรางระนาด นั้น โดยทั่วไปแล้วนิยมทำ เป็นรูปโค้ง คล้ายๆ กับเรือ และจะมีฐานรองรับ เพื่อให้ระนาดตั้ง กับพื้นได้ ซึ่งส่วนที่รองรับจะอยู่ตรง กลางของส่วนโค้ง เรียกว่า เท้าระนาดเอก

ผีนระนาด

         ส่วนของผีนระนาดก็คือ ส่วนที่ขึงอยู่บนราง ระนาด จะประกอบไปด้วยลูก ระนาด ที่ใช้เชือกร้อย แล้วขึงไว้กับรางระนาด โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบด้วยลูกระนาด จำนวนประมาณ 21 ลูก แต่บางครั้งก็อาจจะมี ลูกระนาด ถึง 22 ลูกก็ได้ในหนึ่งผีน ซึ่งจะเรียกลูกระนาด ที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า ลูกหลีก สำหรับระนาดที่มี 22 ลูกนั้น นิยมใช้สำหรับเล่น ในวงปี่พาทย์มอญ และในวงปี่พาทย์นางหงส์ โดยลูกระนาดที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของ ผู้เล่นระนาด จะเรียกว่า ลูกต้นหรือลูกทวน จะเป็นเสียงต่ำสุด

 ไม้ตีระนาด

         สำหรับไม้ตีระนาดนั้น นิยมทำมาจากไม้ไผ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. ส่วนความหนาของไม้ตีระนาดนั้น จะแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ ไม้นวม และไม้แข็ง
         ลักษณะไม้ตีระนาดมีดังนี้
         1. ไม้แข็ง ปลายไม้ระนาด พอกด้วยผ้าชุบน้ำรักจนแข็ง
         2. ไม้นวม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันแล้วถักด้วยด้ายจนนุ่ม
         3. ไม้ตีระนาดทุ้ม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่ม เพื่อตีให้เกิดเสียงทุ้ม
         4. ไม้ตีระนาดเหล็ก ปลายไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะรูตรงกลาง แล้วเอาไม้เป็นด้ามสำหรับถือมีขนาดใหญ่กว่าไม้ตีระนาดเอกธรรมดา
         5. ไม้ตีระนาดทุ้มเหล็ก ทำลักษณะเดียวกับไม้ตีฆ้องวง แต่ปลายไม้พันด้วยหนังดิบ เพื่อให้แข็งเวลาตี จะเกิดเสียงได้


(ระนาดเอก)



ฆ้องวงใหญ่


ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องตีประเภททำทำนองที่ทำด้วยโลหะ หลอมกลึงเป็นลูกๆทรงกลม มีขนาดลดหลั่นกัน 16 ลูก แขวนอยู่บนร้านฆ้อง ซึ่งทำด้วยหวายดัดโค้งเป็นวงกลม ผู้ตีนั่งอยู่ในวงฆ้อง จับไม้ตีข้างละอัน ตีเป็นทำนองเพบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยสุโขทัยมาจนถึงทุกวันนี้ ๑ มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก เป็นหลักของวงปี่พาทย์จนถึงปัจจุบัน เดิมเรียก ฆ้องวง ต่อเมื่อเกิดฆ้องวงเล็กในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเรียกฆ้องที่มีอยู่เดิมว่า ฆ้องวงใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่กว่า ฆ้องวงใหญ่มีส่วนประกอบ ดังนี้
1. ร้านฆ้อง
-ร้านฆ้อง ทำด้วยหวายเป็นต้น 4 เส้น ดัดโค้ง เป็นวงกลม ใช้ 2 เส้นดัดเป็นโค้งเป็นวงนอก อีก 2 เส้นโค้งเป็นวงใน ยึดติดกับลูกมะฮวด
-ลูกมะหวด ทำด้วยไม้กลึงให้กลมเป็นลอนขนาบด้วย ลูกแก้ว หัวท้ายบากและปาดโค้งรับกับต้นหวายเป็นระยะตลอดทั้งวง
-โขนฆ้อง ทำด้วยไม้หนา มีลักษณะตอนกลางนูน เป็นสันเรียวแหลมเหมือนใบโพธิ์ ข้างปาดเรียวลง ยึดติดติดกับต้นหวายทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
-ไม้ค่ำล่าง เป็นไม้ลักษณะสี่เหลี่ยมทรงแบน ยึด ติดกับหวายคู่ล่างโดยรอบ ระยะห่างพอสมควร บางวงจะใช้แผ่นโลหะตอกตะปูคลุมอีกทีหนึ่ง
-ไม้ตะคู้ คือไม้ไผ่เล็กๆเจาะฝังเข้าไปในลูก มะหวด เพื่อกั้นสะพานหนู
-สะพานหนู เป็นเส้นลวดสอดโค้งเป็นวงใต้ไม้ตะคู้ เพื่อไว้ผูกหนังลูกฆ้อง ด้านในและด้านนอก
-ไม้ค้ำบน หรือ ไม้ถ่างฆ้อง เป็นไม้แผ่นบางๆปาดหัวท้ายเว้าตามเส้นหวาย เพื่อใช้ถ่างให้วงฆ้อง ให้อยู่ในสภาพเป็นวงสวยงาม ปกติลูกฆ้อง 4 ลูกจะ ใส่ไม้ถ่างฆ้อง 1 อัน ฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูก จึงมีไม้ถ่างฆ้องวงหนึ่ง 4 อัน ที่ต้นหวายทั้ง 4 ต้นจะมีหวายผ่าซีก 2 หรือ 3 เส้นประกบโดยรอบ เพื่อรองรับหนังผูกฆ้อง และเพื่อให้สวยงาม จะกลึงเป็นเม็ดติดไว้ที่ปลายต้นหวายทั้งสี่ต้น สำหรับสมัยโบราณจะกลึงเม็ดเป็นขา ติดอยู่ที่ใต้ไม้ถ่างล่างอีกทีหนึ่ง
วงฆ้องบางวงได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยการประกอบงา แกะลวดลายฝังงา หรือมุขที่โขน บางครั้งที่ลูกมะหวดประกอบงา หรือเป็นงาทั้งอัน หรือแกะลวดลาย ลงรักปิดทองสวยงาม
2.ลูกฆ้อง
ทำด้วยโลหะที่เรียกว่า ทองเหลือง หลอม ตี หรือกลึงเป็นลูกๆทรงกลม ด้านบนกลึงตรงกลางให้นูนเป็นปุ่มเรียกว่า ปุ่มฆ้อง สำหรับตีให้เกิดเสียง ด้าน ข้างกลึงเป็นขอบงุ้มลงเรียกว่า ฉัตร เพื่อให้เสียงดังกังวานยาวขึ้น ที่ฉัตรเจาะรู 4 รูสำหรับร้อยหนังเลียด ซึ่งทำด้วยหนังเส้นเล็ก ร้อยผ่านรูที่ฉัตร ไปผูกยังสะพานหนู วงหนึ่ง มี 16 ลูกลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละลูกจะติดตะกั่วผสมขี้ผึ้งใต้ปุ่มฆ้อง เพื่อให้ได้เสียง สูงต่ำเรียงตามลำดับ 16 เสียง ลูกที่มีเสียงต่ำสุดจะ เรียกว่า ลูกทวน และลูกที่มีเสียงสูงสุดจะเรียกว่า ลูกยอด
3.ไม้ตีฆ้อง
ก้านทำด้วยไม้ไผ่ เหลาให้กลมเล็ก ยาวพอประมาณ ไม้ที่ดีนิยมไม้ที่มี 5 ข้อขึ้นไปจนถึง 9 ข้อ หัวไม้ ทำด้วยหนังช้าง ตัดเป็นวงกลม ทุบปลายบานเป็นขอบ เล็กน้อย เพื่อให้นุ่มสำหรับตีลงที่ปุ่มฆ้องได้เสียงที่นุ่ม ไพเราะ ปัจจุบันหนังช้างหายาก จึงใช้ไม้ฆ้องที่หัวพัน ด้วยผ้า เคียนด้วยด้ายสีต่างๆด้วยวิธีกรรมที่ปราณีตสวยงาม เรียกว่า ไม้นวม เสียงจะนุ่มนวล แต่ไม่คมคายเท่าหนังช้าง เหมาะสำหรับไว้ฝึกซ้อม
ท่านั่ง
นั่งท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ อยู่กึ่งกลางในวงฆ้อง ลำตัวตรง
ท่าจับ
ด้วยการหมายมือจับไม้ตีข้างละอัน ให้ก้านไม้ตีพาดอยู่ในกลางร่องอุ้งมือ พร้อมกับใช้นิ้วกลาง นาง ก้อย จับก้านไม้ตีไว้ และใช้นิ้วหัวแม่มือแตะไว้ที่ด้านข้าง ปลายนิ้วชี้กดที่ด้านล่างของก้านไม้ตี โดยให้ปลายนิ้วชี้อยู่ชิดกับหัวไม้ตี ในลักษณะที่จะใช้ควบคุมเสียงของฆ้องใหญ่ และค่ำมือลงเมื่อพร้อมที่จะบรรเลง แขนทั้งสองอยู่ข้างลำตัว งอข้อศอกเป็นมุมฉากพองาม
หลักการตีฆ้องวงใหญ่
-- ต้องตีให้หน้าไม้ตั้งฉากกับลูกฆ้อง
-- ตีตรงกลางปุ่มให้เต็มปื้นไม้ตี
-- ใช้ข้อมือและกล้ามเนื้อแขนเป็นหลัก
-- ยกไม้ตีสูงพอสมควร (ประมาณ 5-6 นิ้วฟุต)
-- ขณะบรรเลงสามารถหมุนไม้ตีไปรอบๆ เพื่อไม้ตีไม่เสียรูปทรงจากหลักการตีดังกล่าว ก่อให้เกิดวิธีและเสียงของฆ้องอันเป็นพื้นฐานดังนี้
หลักการตีฆ้องวงใหญ่
1.ตีมือละลูกเป็นคู่แปด คือการตีด้วยมือซ้าย และมือขวาพร้อมกันเป็นคู่แปด และคู่สี่
2. ตีมือละหลายๆลูก คือการตีมือละหลายๆลูก อาจแบ่งมือซ้ายขวาเท่ากันหรือไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ท่วงทำนองเพลงเป็นหลัก โดยปรกติจะตีลงด้วยมือซ้าย หนึ่งครั้ง มือขวาสองครั้ง ถือเป็นมือเอกลักษณ์ของฆ้องวงใหญ่ อีกแบบหนึ่งจะตีโดยแบ่งมือเท่าๆกัน ในพยางค์ของเสียงที่ต่อเนื่องกัน ทั้งขึ้นและลง
3. ตีสะบัด คือการตีพยางค์มากกว่าเก็บ ซึ่งขึ้นอยู่ในหัวข้อการตีมือละ หลาย ๆ ลูก แต่วิธีสะบัดของฆ้องวงนั้น โดยมากจะเป็นการสะบัดขึ้นลง 3 พยางค์ 3 เสียง ถ้าขึ้นจะใช้ซ้ายหนึ่ง ขวาสอง ถ้าลงจะใช้ขวาหนึ่ง ซ้ายสอง และมือแรกห้ามเสียงเล็กน้อย ดังที่เรียกว่า ซ้ายปิด ขวาเปิด เป็นต้น
4. ตีกวาด คือการตีที่ลากหัวไม้ผ่านปุ่มฆ้องทุกลูก จากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย ซึ่งโดยปรกติ จะลากไม้ฆ้องให้หัวไม้กระทบบริเวณด้านข้างของปุ่มลูกฆ้อง ถ้าลากตรงกลางปุ่มจะทำให้สะดุด เสียงไม่เรียบ
5. ตีกรอ คือการตีสองมือสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและเร็ว ปรกติจะเอามือซ้ายลงก่อน และตีสลับให้สองมือมีอัตราและเสียงที่เท่ากัน
6. ตีไขว้ คือการตีที่มือข้างหนึ่งไขว้ข้ามมืออีกข้างหนึ่ง โดยมือทั้งสองมีลักษณะไขว้กัน อาจเอามือซ้าย ไขว้มือขวา หรืออาจเอามือขวาไขว้มือซ้ายก็ได้ โดยปกติจะใช้ตีในเพลงเดี่ยว ซึ่งจัดเป็นความสามารถของผู้ตี
7. ตีหนึบ หนับ หนอด โหน่ง เป็นการตีที่ประคบมือมือทั้งสอง คือการตีที่ใช้กล้ามเนื้อ กำลัง ตลอดจนน้ำหนักพอดี บางครั้งตีลงแล้วเปิดหัวไม้ทันที บางครั้งปิดหัวไม้เล็กน้อย โดยเฉพาะในเพลงเดี่ยวจะใช้วิธีการแบบนี้มาก


ข้อมูลจากhttp://www.banrakthai.com/index.php?step=viewproduct&catn=11&subn=3&pcode=rakthai024

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554





ประเภทวงดนตรีไทย




การแบ่งประเภทของวงดนตรีไทยจำแนกตามลักษณะการประสมวงได้ 3 ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์และวงมโหรี วงดนตรีไทยแต่ละวงจะใช้บรรเลงในโอกาสที่แตกต่างกัน


วงเครื่องสาย


 ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์
การแบ่งประเภทของวงดนตรีไทยจำแนกตามลักษณะการประสมวงได้ 3 ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์และวงมโหรี วงดนตรีไทยแต่ละวงจะใช้บรรเลงในโอกาสที่แตกต่างกัน

๑. วงเครื่องสายไทย
 
วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่
 
 ๑.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายและเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
    จะเข้ ๑ ตัว
    ซอด้วง ๑ คัน
    ซออู้ ๑ คัน
    ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
    โทน-รำมะนา ๑ คู่
    ฉิ่ง ๑ คู่
    ฉาบ ๑ คู่
    กรับ ๑ คู่
    โหม่ง ๑ ใบ   



 ๑.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่ วงเครื่องสายเครื่องคู่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรีประเภททำทำนองจากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็นสองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้
    จะเข้ ๒ ตัว
    ซอด้วง ๒ คัน
    ซออู้ ๒ คัน
    ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
    ขลุ่ยหลิบ  ๑ เลา
    ฉิ่ง ๑ คู่
    ฉาบ ๑ คู่
    กรับ ๑ คู่
    โหม่ง  ๑ ใบ
    โทน-รำมะนา ๑ คู่




  ๒. วงเครื่องสายผสม  
เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความกลมกลืนมากน้อยเพียงใด 
 
การเรียกชื่อวงจะเรียกตามตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม ถ้าหากนำออร์แกนมาบรรเลงร่วม ก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน ฯลฯ สำหรับโอกาสในการบรรเลงนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทยทุกประการ


ในบางครั้งวงเครื่องสายประเภทนี้จะนำเอาจะเข้ซึ่งมีเสียงดังออกเสียด้วย เนื่องจากเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงร่วมนั้นมีเสียงเบากว่ามาก เช่น ในวงเครื่องสายผสมขิมหรือไวโอลินบางวง เป็นต้น 
๓. วงเครื่องสายปี่ชวา
 
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่
 
  ๓.๑ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
    ปี่ชวา ๑ เลา
    ขลุ่ยหลิบ  ๑ เลา
    ซอด้วง ๑ คัน
    ซออู้ ๑ คัน
    จะเข้ ๑ ตัว
    กลองแขก ๑ คู่
    ฉิ่ง ๑ คู่
    ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม





  ๓.๒ วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็น 2 หรือคู่ ดังนี้
    ปี่ชวา ๑ เลา
    ขลุ่ยหลิบ  ๑ เลา
    ซอด้วง ๒ คัน
    ซออู้ ๒ คัน
    จะเข้ ๒ตัว
    กลองแขก ๑ คู่
    ฉิ่ง ๑ คู่
    ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม




วงปี่พาทย์





 วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้.3องวงชนิดต่างๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์"

วงปี่พาทย์มี 8 แบบ คือ


1.วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้


ปี่ใน 1 เลา

ระนาดเอก 1 ราง

ฆ้องวงใหญ่ 1 วง

กลองทัด 2 ลูก

ตะโพน 1 ลูก

ฉิ่ง 1 คู่


ในบางกรณีอาจใช้ฉาบ กรับ โหม่งด้วย


2.วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่ เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดงหนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม


วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้


ปี่ 1 คู่ คือ ปี่ในและปี่นอก

ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม

ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก

กลองทัด 1 คู่

ตะโพน 1 ลูก

ฉิ่ง 1 คู่

ฉาบเล็ก 1 คู่

ฉาบใหญ่ 1 คู่

โหม่ง 1 ใบ

กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน)


ในบางกรณีอาจใช้กรับด้วย


3.วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ คือ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาดทุ้มเหล็ก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้น กลายเป็นวงปี่พาทย์ที่มีระนาด 4 ราง โดยตั้งระนาดเอกเหล็กที่ริมด้านขวามือและตั้งระนาดทุ้มเหล็กที่ริมด้านซ้ายมือ ซึ่งนักดนตรีนิยมเรียกกันว่า "เพิ่มหัวท้าย" วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบางวงก็เพิ่มกลองทัด รวมเป็น 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้นๆ ด้วย เช่น


ภาษาเขมร ใช้ โทน

ภาษาจีน ใช้ กลองจีน กลองต๊อก แต๋ว

ภาษาฝรั่ง ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (side drum, snare drum)

ภาษาพม่า ใช้ กลองยาว

ภาษามอญ ใช้ ตะโพน เปิงมาง


4.วงปี่พาทย์นางหงส์ คือ วงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม (ดู วงบัวลอย ประกอบ) โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกับวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยู่เดิม เรียกว่า "วงปี่พาทย์นางหงส์"


วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่างๆ เรียกว่า "ออกภาษา" ด้วย


5.วงปี่พาทย์มอญ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอญ เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่


5.1วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง


5.2วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก


5.3วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก


วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ ได้ทั้งงานมงคล เช่น งานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี และงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลาโศกเศร้า โหยหวน ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน จนบางท่านนึกว่าปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น


6.วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ คือ วงปี่พาทย์ประสมชนิดหนึ่ง มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจากละครดึกดำบรรพ์ ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดยอาศัยแนวอุปรากร (opera) ของตะวันตกเข้าประกอบ ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละคร ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้งชื่อว่า "โรงละครดึกดำบรรพ์" ละครก็เรียกว่า "ละครดึกดำบรรพ์" ด้วย วงปี่พาทย์ที่บรรเลงในการเล่นละครนี้จึงมีชื่อว่า "ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงคัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ


ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม)

ระนาดทุ้ม

ระนาดทุ้มเหล็ก

ฆ้องวงใหญ่

ฆ้องหุ่ย 7 ใบ มีเสียงเรียงลำดับกัน 7 เสียง

ขลุ่ยเพียงออ

ตะโพน

กลองตะโพน

ฉิ่ง


ซออู้ (เพิ่มขึ้นภายหลังเมื่อแสดงเรื่องสังข์ศิลปชัย ได้ทรงบรรจุเพลงสังขารา ซึ่งต้องใช้ซออู้สีประกอบ)


ขลุ่ยอู้ (มีผู้คิดเพิ่มในภายหลัง)


วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะเปลี่ยนแปลงการประสมเครื่องดนตรีต่างไปจากวงปี่พาทย์เดิมแล้ว ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีตั้งเครื่องดนตรีอีกด้วย โดยตั้งระนาดเอกไว้กลาง ระนาดทุ้มอยู่ขวา ระนาดทุ้มเหล็กอยู่ซ้าย ฆ้องวงใหญ่อยู่หลังระนาดเอก ส่วนระเบียบวิธีการบรรเลงนั้นก็มีแบบแผนเฉพาะตัว ไม่เหมือนกับการบรรเลงในการแสดงโขนละครโดยทั่วไป ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ


-การบรรเลงทั่วไป เหมือนวงปี่พาทย์ชนิดอื่น ใช้บรรเลงเพลงต่างๆ ตามประสงค์และตามกาลเทศะ แต่ลักษณะการบรรเลงนั้นย่อมแตกต่างไปบ้าง ในเรื่องของแนวการบรรเลงซึ่งอยู่ในแนวช้า ไม่รวดเร็วดังเช่นปี่พาทย์เสภาและปี่พาทย์นางหงส์ นอกจากนี้วิธีการบรรเลงก็ไม่รุกเร้า โลดโผน เกรี้ยวกราด หรือสนุกสนานเต็มที่แต่จะดำเนินทำนองไปโดยเรียบเย็น นุ่มนวล ผสมเสียงฆ้องหุ่ยดังอุ้มวงอยู่ห่างๆ ได้บรรยากาศเย็น สงบ และกลมกล่อม


-การบรรเลงในละครดึกดำบรรพ์ ใช้บรรเลงตามแบบแผนที่ผู้ประพันธ์เพลงได้แต่งไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เพลงโหมโรงมีลักษณะคล้ายการเล่าเรื่องก่อนการแสดง ดังเช่นโหมโรงฉากแรกในเรื่องคาวี ตอนเผาพระขรรค์ ประกอบไปด้วยเพลงบาทสกุณี เพลงแผละ เพลงเชิด เพลงโอด เพลงเร็ว เพลงลา เพลงโลม เพลงเสมอ เพลงรัว หมายถึง พระคาวีเสด็จมาปราบนกอินทรี จนได้พบนางจันท์สุดา และได้นางเป็นชายา นอกจากนี้เพลงแต่ละเพลงในการแสดงละครดึกดำบรรพ์ยังมีทำนองเชื่อมให้ฟังกลมกลืนเข้ากัน โดยเฉพาะเพลงที่มีสำเนียงหรือเสียงต่างกันก็ต่อเชื่อมได้สนิท ในรายละเอียดของเนื้อหาดนตรีก็ยังได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม หรือตัดทอนให้แตกต่างไปจากเพลงเดิมที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปอีกด้วย


7.วงปี่พาทย์ไม้นวม คือ วงปี่พาทย์ที่ใช้ไม้ตีระนาดเอกเปลี่ยนจากไม้แข็งเป็นไม้นวมคือ ไม้ตีจะพันผ้าและด้ายรัดหลายๆ รอบจนแน่น เมื่อใช้ตีจะมีเสียงนุ่มนวลเพิ่มซออู้อีก 1 คัน และใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ บางโอกาสอาจใช้กลองแขกตีเป็นเครื่องกำกับจังหวะ


8.วงปี่พาทย์เสภา คือ วงปี่พาทย์ซึ่งใช้กลองสองหน้าทำจังหวะหน้าทับแทนตะโพนและกลองทัด เริ่มนำมาบรรเลงร่วมกับการเล่นเสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย




วงมโหรี






วงมโหรี เป็นวงดนตรีผสม ตั้งแต่มีไม่กี่สิ่ง จนกลายเป็นวงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์ดังจะกล่าวต่อไปนี้
  • วงมโหรีโบราณ
  • มโหรีวงเล็ก
  • วงมโหรีเครื่องคู่
  • วงมโหรีเครื่องใหญ่
วงมโหรีโบราณ
          มีเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงเพียง ๔ คน
          ๑. ซอสามสาย สีเก็บบ้าง โหยหวนเสียงยาวๆ บ้าง มีหน้าที่คลอเสียงคนร้องและดำเนินทำนองเพลง
          ๒. กระจับปี่ ดีดดำเนินทำนองถี่บ้างห่างบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
          ๓. โทน ตีให้สอดสลับไปแต่อย่างเดียว (เพราะยังไม่มีรำมะนา) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
          ๔. กรับพวง ตีตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย ซึ่งคนร้องเป็นผู้ตี
          วงมโหรีอย่างนี้ได้ค่อยๆ เพิ่มเครื่องดนตรีมากขึ้นเป็นขั้นๆ ขั้นแรกเพิ่มรำมะนาให้ตีคู่กับโทน แล้วเพิ่มฉิ่งแทนกรับพวง ต่อมาก็เพิ่มขลุ่ยเพียงออ และนำเอาจะเข้เข้ามาแทนกระจับปี่ต่อจากนั้น ก็นำเอาเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวง ปี่พาทย์เข้ามาผสม แต่เครื่องดนตรีที่นำมาจากวงปี่พาทย์นั้น ทุกๆ อย่างจะต้องย่อขนาดให้เล็กลง เพื่อให้เสียงเล็กและเบาลง ไม่กลบเสียงเครื่องดีดเครื่องสีที่มีอยู่แล้ว
มโหรีวงเล็ก
          มีเครื่องดนตรีดังนี้
          ๑. ซอสามสาย (วิธีสีและหน้าที่เหมือนในวงมโหรีโบราณ)
          ๒. ระนาดเอก (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)
          ๓. ฆ้องวง เนื่องจากย่อขนาดเล็กลงกว่าฆ้องวงใหญ่ และใหญ่กว่าฆ้องวงเล็กในวง ปี่พาทย์ จึงมักเรียกว่า "ฆ้องกลาง" หรือ "ฆ้องมโหรี" วิธีตีและหน้าที่เหมือนฆ้องวงใหญ่ในวงปี่พาทย์
          ๔. ซอด้วง (วิธีสีเหมือนในวงเครื่องสาย แต่ไม่ต้องเป็นผู้นำวง เพราะมีระนาดเอกเป็นผู้นำวงอยู่แล้ว)
          ๕. ซออู้ (วิธีสีและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
          ๖. จะเข้ (วิธีดีดและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
          ๗. ขลุ่ยเพียงออ (วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
          ๘. โทน (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
          ๙. รำมะนา (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
          ๑๐. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)
วงมโหรีเครื่องคู่
          มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ทั้งวิธีบรรเลงและหน้าที่ เหมือนกับวงมโหรีวงเล็กทุกอย่างแต่เพิ่มซอด้วงเป็น ๒ คัน ซออู้เป็น ๒ คัน จะเข้เป็น ๒  ตัว กับเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๓ อย่าง คือ
          ๑. ขลุ่ยหลิบ วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสายเครื่องคู่
          ๒. ระนาดทุ้ม วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องคู่
          ๓. ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่าฆ้องวงเล็กในวงปี่พาทย์ วิธีตีและหน้าที่เหมือนอย่างในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ บางทีก็เพิ่มซอสามสายคันเล็ก เรียกว่า ซอสามสายหลิบ อีก ๑ คัน
วงมโหรีเครื่องใหญ่
         

มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ตลอดจนวิธีบรรเลงและหน้าที่เหมือนกับวงมโหรีเครื่องคู่ทุกอย่าง แต่เพิ่มเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ
๑. ระนาดเอกเหล็ก (หรือทอง) วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
๒. ระนาดทุ้มเหล็ก (หรือทอง) วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

ในสมัยปัจจุบันมักจะเพิ่ม "ขลุ่ยอู้" ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ขลุ่ยอู้นี้วิธีเป่าเหมือนกับขลุ่ยเพียงออแต่มีหน้าที่ดำเนินเนื้อเพลงเป็นทำนองห่างๆ ในทางเสียงต่ำ
ส่วนฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และโหม่ง ผสมได้ทั้งวงเล็ก เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่มีหน้าที่อย่างเดียวกับที่กล่าวแล้วในวงปี่พาทย์



วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คีตกวีไทย

พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
     คีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ
อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
พระประดิษฐ์ไพเราะ" บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ
ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย"
ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้ ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49 ปี

 

พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)


ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว
นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย" ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้ ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49 ปี


 
ครูบุญยงค์    เกตุคง





ครูบุญยงค์ เป็นบุตรชายคนโตของนายเที่ยงและนางเขียน เกตุคง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4ปีวอก พ..2463 ที่ตำบลวัดสิงห์เป็นหลานปู่หลานย่าของนายใจและนางเพียร ชาวสวนตำบลดาวคนอง เป็นหลานตาหลานยายของนายเปี่ยมและนางภู่ ศรีประเสริฐ ตากับยายและแม่เป็นคนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีน้องชาย 2 คนชื่อบุญยังและทองอยู่ มีน้องสาว 1 คนชื่อเบญจางค์ น้องชายที่ชื่อบุญยังเป็นนักดนตรีฝีมือดี ครูมีภรรยาซึ่งเป็นน้องสาวครูชื้น ดุริยประณีตแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน
      ครูได้ศึกษาดนตรีกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น ครูหรั่ง พุ่มทองสุข ครูประสิทธิ์ เกตุคง ครูเพชร จรรย์นาค ครูสอน วงฆ้อง ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ครูพุ่ม บาปุยะวาส เป็นต้น จนมีความสามารถในการบรรเลงปี่พาทย์ได้ทุกประเภท ทั้งประกอบการแสดงโขน ละคร ลิเก จนถึงการประชันวงปี่พาทย์ นอกจากนั้นครูได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น “ระนาดเทวดา” เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน
      ประวัติการทำงาน ครูได้เข้ารับราชการในกรมประชาสัมพันธ์ประมาณ 5 – 6 ปี จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมอยู่ประมาณ 5 ปี จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของสำนักงานกรุงเทพมหานคร จนเกษียณอายุเมื่อ ปีพ..2525
       ผลงานทางด้านการแต่งเพลงของครูมีมากหลายเพลงอาทิ โหมโรงสามสถาบัน โหมโรงจุฬามณี โหมโรงสามจีน เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงเริงพลเถา เพลงศรีธรรมราชเถา เพลงชเวดากองเถา เพลงพิรุณสร่างฟ้าเถา เพลงเพชรน้อยเถา เป็นต้น และยังแต่งทางเดี่ยวสำหรับเพลงต่างๆและเครื่องดนตรีต่างๆอีกเป็นอันมาก ผลงานการแต่งเพลงของครูในระยะหลัง มีชื่อเสียงแพร่หลายไปถึงต่างประเทศคือไปร่วมงานกับนายบรู๊ซ แกสตัน นักดนตรีชาวเยอรมันจัดทำเพลงชุด “เจ้าพระยาคอนแชร์โต้”บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องดนตรีฝรั่งเป็น ที่นิยมชมชอบกันโดยทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังได้รับการยอมรับนับถือจาก เซอร์ ไซมอน แรทเทิล (Sir Simon Rattle [1955]) วาทยากรชาวอังกฤษ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวาทยากรหลักของวงเบอร์ลินฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตรา) ในฐานะครูผู้ใหญ่อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า ครูบุญยงค์ เกตุคงเป็นอัจฉริยบุคคลทางดนตรีของไทยอีกผู้หนึ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดเสมอ เหมือน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 ครูได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)ประจำปี 2531 นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งในชีวิตที่ครูได้รับ ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี